2553/12/31

ประโยชน์ของการถือศีลอด

ผลจากการถือศีลอด นำไปสู่คุณธรรมนานาประการ

1) แสดงให้ประจักษ์ชัดถึงความเสมอภาคทางสังคม

2) สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้

3) มีความซื่อสัตย์สุจริต

4) มีความอดทนอดกลั้น

5) มีคุณธรรม

6) มีจิตเมตตาสงสาร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น

7) มีความสำนึกในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า และซาบซึ้งต่อพระองค์ยิ่งนัก เพราะสภาพทรมานจากความหิว เมื่อได้เวลารับประทาน เขาก็จะตระหนักถึงคุณค่าของอาหารว่ามีมากมายเหลือเกิน และอาหารที่ได้รับประทานนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงประทานมาให้

8) มีระเบียบวินัย และฝึกให้ตรงต่อเวลา

 คุณธรรมทั้งหลายอันได้มาจากการถือศีลอดนั้น ที่สุดก็รวมอยู่ในความยำเกรงพระเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมคุณธรรมทั้งปวง ดังนั้น อัลกุรอานจึงมีโองการไว้ในบทที่ 2 โองการที่ 183 ความว่า

               "เหล่าผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้บัญญัติแก่สูเจ้า ประดุจเดียวกับที่ได้บัญญัติไว้แก่ประชาชนก่อนสูเจ้า ทั้งนี้เพื่อสูเจ้าจักได้ยำเกรง"

หลักปฏิบัติที่5 การไปประกอบพิธีฮัจญ์

5. การบำเพ็ญฮัจญ์ 

การบำเพ็ญฮัจญ์หรือประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นศาสนกิจประการสุดท้ายในหลักปฏิบัติพื้นฐาน เป็นศาสนกิจที่สรุปไว้ ซึ่งอุดมการณ์ทางสังคม อย่างครบบริบูรณ์


การที่มุสลิมจากทั่วมุมโลก เดินทางจากที่อยู่อาศัยของตนเอง ไปสู่พิธีฮัจญ์ เป็นประจำติดต่อกันมาถึง 1,400 กว่าปี นับเป็นกิจกรรมที่มีความมหัศจรรย์และมีพลังอันแกร่งกล้าทางศรัทธายิ่งนัก สำนึกของผู้เดินทางไปสู่พิธีฮัจญ์ เป็นสำนึกเดียวกัน จากจิตวิญญาณที่ผนึกกันเป็นดวงเดียวกัน แม้จะมาจากถิ่นฐานอันแตกต่างกัน มีภาษาผิดแผกกัน มีสีผิวไม่เหมือนกัน มีฐานะต่างกัน มีตำแหน่งทางสังคมไม่เท่ากัน แต่เมื่อทุกคนเดินทางมาสู่ศาสนกิจข้อนี้ สิ่งเหล่านั้นถูกทิ้งไปโดยสิ้นเชิง ทุกคนซึ่งมีอำนาจมหาศาล แต่ก็ร่วมกิจกรรมเดียวกัน โดยไม่รังเกียจเดียจฉันท์ ไม่มีความโกรธ เกลียดซึ่งกันและกัน

หลักปฏิบัติที่4 การถือศีลอด - ถือบวช ในเดือนรอมฎอน (รอ-มะ-ดอน)

4. การถือศีลอด - ถือบวช


โดยเริ่มตั้งถือแต่เวลาแสงอรุณขึ้น จวบถึงตะวันตกดิน


ข้องดเว้นของผู้ถือศีลอด
1. การรับประทานอาหาร การดื่ม
2. การนำสิ่งภายนอกเข้าสู่อวัยวะภายในร่างกาย
3. การแสดงกิจกรรมทางเพศ
4. การอาเจียนโดยตั้งใจ



บุคคลผู้ได้รับการผ่อนผัน ไม่ต้องถือศีลอด


1. ผู้ป่วยไข้ธรรมดา
2. ผู้ป่วยไข้เรื้อรัง
3. ผู้เดินทาง
4. ผู้ชรา
5. หญิงมีครรภ์
6. หญิงแม่ลูกอ่อน

หลักปฏิบัติที่3 การจ่ายซะกาต

3. การจ่ายซะกาต


 ซะกาต คือ ทรัพย์จำนวนหนึ่งที่ได้กำหนดไว้เป็นอัตราส่วน จากจำนวนทรัพย์ที่เจ้าของทรัพย์ได้มา จนครบพิกัดที่ศาสนาได้บัญญัติไว้ และนำทรัพย์จำนวนนั้น จ่ายออกไปแก่ผู้มีสิทธิ์


การจ่ายซะกาตนั้น มิใช่จ่ายแบบ มิใช่แบบ "ให้ทาน" แต่เป็นการจ่ายไปเพื่อให้ผู้รับ ได้นำไปเป็นทุนดำเนินการ ทางด้านอาชีพหรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตัวเอง เป็นลักษณะการจ่ายแบบ "การสังคมสงเคราะห์" ซึ่งระบบซะกาตนี้ เป็นระบบที่สามารถประกันสังคมได้อย่างแน่นอน

หลักปฏิบัติที่2 การละหมาด

2. การละหมาด




การละหมาด คือ การแสดงความเคารพ นมัสการต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ประกอบด้วย จิตใจ วาจา และร่างกาย พร้อมกัน

ผู้ทำละหมาดสม่ำเสมอ จะก่อประโยชน์แก่ตัวเขาเองอย่างเอนกอนันต์ ทำให้จิตใจของเขาสะอาดบริสุทธิ์ ขจัดความหมองหม่นทางอารมณ์ ทำลายความตึงเครียด ทำให้เป็นคนที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน และจิตใจสำรวมระลึกอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ตลอดเวลา

เมื่อจิตใจสำรวมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า และระลึกถึงแต่พระองค์ ก็ไม่มีโอกาสที่จะคิดทำความชั่วต่างๆ คิดแต่จะปฏิบัติ ตามคำบัญชาและบทบัญญัติของพระองค์ ไม่กล้าทำความผิด และฝืนบทบัญญัติของพระองค์ อัลกุรอานระบุไว้ ความว่า

" จงละหมาดสม่ำเสมอเถิด เพราะแท้จริงละหมาด สามารถยับยั้งความชั่วและความผิดได้ "( 29 : 45 )

หลักปฏิบัติที่1 การกล่าว ชะฮาดะ(ปฏิญาณตน)

1. การปฏิญาณตน


ผู้ประสงค์จะเข้าสู่อิสลาม จะต้องกล่าวคำปฏิญาณตนอย่างเปิดเผยและชัดเจน พร้อมทั้งเลื่อมใสศรัทธา การกล่าวปฏิญาณ ปฏิบัติดังนี้

-กล่าวปฏิญาณด้วยวาจา
-เลื่อมใสด้วยจิตใจ
-ปฏิบัติด้วยร่างกาย 

คำกล่าว
 أشهد ألا إله إلا الله
أشهد أن محمداً رسول الله

คำอ่าน
อัชฮาดูอันลา อีลาฮาอิลลัลลอฮฺ
วะอัชฮาดุอันนา มูฮัมมาดัรรอสูลูลลอฮ

คำแปล
ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด(ที่ต้องเคารพสักการะ)นอกจากอัลลอฮฺ
และฉันขอปฏิญาณว่า มูฮัมหมัดเป็นรสูลของอัลลอฮ

อังกฤษ
I bear witness that there is no God But Allah
I bear witness that Muhammad is the Messenger of Allah

ฟัง-อ่าน อัลกุรอาน พร้อมคำอ่านและคำแปลเป็นภาษาไทย

บทที่1"อัลฟาติหะฮฺ"(บทนำ)


อัลกุรอานมีทั้งหมด 114ซูเราะ(บท) มี30ญุซ(ภาค) บทอัลฟาติหะฮฺเป็นบทที่1 มี7อายะ(โองการ)

ความว่า

[1:1]บิสมิลลาหิร เราะห์มาน นิรรอหีม
[1:1]ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี 

 [1:2]อัลฺหัมดุลิลลาฮิ ร๊อบบิล อาละมีน
 [1:2]มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย 

 [1:3]อัรเราะห์มาน นิรรอหีม
 [1:3]ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา 

 [1:4]มาลีกิ เยามิด ดีน
 [1:4]ผู้ทรงสิทธิอำนาจในวันตอบแทน

 [1:5]อิยฺยากะนะอฺ บุดุ วะอิยฺยากะ นัสตาอีน
 [1:5]เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เรานมัสการ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ 

 [1:6]อิฮฺดินัศ ศิรอฏ็อล มุสตะกีม
[1:6]โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงด้วยเถิด 

[1:7]ศิรอฏ็อล ละซีนะ อันอัมตะ อะลัยฮิม,  ฆ๊อยริล มัฆฎูบิ อะลัยฮิม วะลัฎ ฎอลลีน
[1:7]แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ (แนวทางของ) พวกที่หลงผิด

หลักศรัทธา 6 ประการ

1. ศรัทธาในอัลลอฮฺ(อัน-เลาะ) คือศรัทธาว่าอัลลอฮฺนั้นเป็นพระเจ้า และพระองค์ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งทั้งปวงทั้งที่อยู่ในโลก และไม่ได้อยู่ใ่นโลก พระเจ้านั้นมีแค่องค์เดียว ไม่มี2หรือ3  มุสลิมทุกคนเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นล้วนแล้วเกิดขึ้นจากอัลลอฮฺหากต้องการรู้ความจริงว่า พระเจ้ามีจริงหรือไม่ โปรด คลิก!


2. ศรัทธาในมลาอีกะฮฺ(มา-ลา-อี-ก๊ะ)  มลาอีกะฮฺเป็นเทพ อันไร้ตัวตน ไม่มีเพศ ไม่กินไม่นอน ไม่มีคู่ครอง ไม่มีบุตร สามารถจำแลงร่างได้ทุกอย่าง เป็นอีกโลกหนึ่งอันแตกต่างไปจากมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นในสภาพเดิมของเขาได้ นอกจากจะแปลงร่างเป็นคน หรืออย่างอื่น มีใครสามารถรู้จำนวนอันแน่นอนของมลาอีกะฮฺนอกจากพระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์ทรงสร้างมา เป็นจำนวนมาก เพื่อรับใช้พระองค์ตามหน้าที่อันแตกต่างกัน


3. ศรัทธาในคัมภีร์ อัลกุรอาน(อัน-กู-ระ-อ่าน)เป็นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาที่มีความไพเราะในการออกเสียงและภาษาที่ให้ความหมายอันลึกซึ้ง ถ้อยคำเท่าที่ถ่ายทอดมาจากท่านศาสดามุหัมมัด (ช.ล.) เมื่อ 1,400 ปีกว่า ยังได้รับการรักษาไว้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จะเป็นเพียงอักษรเดียวก็ตาม อัลกุรอานได้ระบุไว้ ความว่า
" เรา (อัลลอฮฺ) ได้ประทานกุรอานลงมาแล้ว เราได้รักษามันไว้ (15 : 9 )

4. ศรัทธาในศาสนทูต(ศาสดา) ศาสนทูตผู้ประกาศอิสลาม เรียกว่า "รอซูล" ส่วนศาสนทูตที่ไม่ได้ประกาศ ก็จะเรียกว่า "นบี" แต่การให้ความหมายเช่นนี้ ไม่ได้เข้มงวดนัก ส่วนใหญ่จึงใช้ถ้อยคำทั้งสองนี้ หมายถึงผู้เป็นศาสนทูต ที่ทำการ ประกาศอิสลาม ซึ่งมี25ท่านที่กล่าวไว้ในอัลกุรอาน คือ อาอัม, อิดริส, นูห์, ฮู้ด, ชอลิฮฺ, อิบรอหีม, ลูฎ, อิสหาก, ยะอฺกู๊บ, ยูซุฟ, มูซา, ฮารูน, อิลยาส, ยูนุส, ซูอัยบฺ, ดาวูด, สุลัยมาน, อิลยะซะอฺ, ซุลกิฟลี, ซะกะรียา, อัยยูบ, ยะฮฺยา, อิสมาอีล, อีซา และ มุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงประสบแด่ท่านเหล่านั้น) 

5. ศรัทธาในวันสิ้นโลก หรือ วันพิพากษา(กิยามะฮฺ) มุสลิมต้องศรัทธาว่า โลกนี้พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างขึ้นมาเป็นการชั่วคราว สำหรับเป็นแดนที่มนุษย์ ได้ดำเนินชีวิตส่วนหนึ่ง เพื่อสู่โลกอันจีรังและโลกนิรันดร์ต่อไป ดังนั้น โลกที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันนี้ จึงต้องมีวาระดับสลาย ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ไม่มีใครสามารถตอบได้ว่า วันดับสลายของโลก หรือ วันสิ้นโลก จะเกิดขึ้นเมื่อใด อัลกุรอานระบุไว้ ความว่า
               "มนุษย์จะถามเจ้าเกี่ยวกับกัลปวสานของโลก เจ้าจงตอบเถิด ความรู้ในเรื่องนั้น มีอยู่เฉพาะที่อัลลอฮฺเท่านั้น และอันใดทำให้เจ้ารู้ อันกัลปวสานของโลก อาจจะอุบัติขึ้นในเวลาอันใกล้นี้ก็ได้"( 33 : 63 )

6. ศรัทธาในกฎแห่งสภาวการณ์ สภาวการณ์ทั้งหลายถูกกำหนดมา เป็นกฎตายตัวและแน่นอน ซึ่งต้องดำเนินไปตามที่กำหนดนั้น เช่น แดดเผาไอน้ำขึ้นไปรวมตัวอยู่บนอากาศ เมื่อลมพัดก็จะกระจายตกลงมาเป็นฝน ฝนตกลงมาบนพื้นดิน ทำให้อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้และพืชนานาชนิดงอกงามขึ้นมา มนุษย์และสัตว์ได้รับประโยชน์จากพืชพันธุ์เหล่านั้น เป็นกฎกำหนดสภาวะ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดไว้ อัลกุรอานระบุไว้ความว่า

"แท้จริงทุกสิ่งที่เราได้บันดาลไว้นั้น โดยกำหนดการที่แน่นอนยิ่ง"( 54 : 49 )

ความหมาย

อิสลามเป็นภาษาอรับ(الإسلام) อังกฤษ(ISLAM) ไทย(อิด-สะ-ลาม)
แปลว่า สันติ หรือ การเข้าสู่สันติและยังมีความหมายอื่นๆ ผู้ที่ดำเนินชีวิตไปตามแนวทางอิสลาม เรียกว่า "มุสลิม"


หากต้องการดูคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอิสลาม ให้ คลิกที่นี่!!